โรคเหงือก
Zenitoni Periodontic system
โรคเหงือก สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่จะเกิดมากในวัยผู้ใหญ่ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก็จะสามารถรักษาให้เหงือกกลับมาแข็งแรงได้ดังเดิมได้ หากคุณมีอาการดังนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
-
เหงือกแดง บวม และเปื่อย
-
อาการเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน
-
ฟันดูมีความยาวมากขึ้น เนื่องจากเหงือกร่นลงมา
-
เหงือกที่แยกออกมาไม่แนบสนิทกับฟันจนทำให้เกิดเป็นโพรงขึ้นมา
-
เมื่อเคี้ยวอาหารแล้วฟันไม่สบกันเหมือนเดิม
เมื่อคุณไปพบแพทย์ทุกๆ 6 เดือนเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและมีอยู่หนึ่งที่ทันตแพทย์บอกคุณว่ามี โรคเหงือก ในช่องปาก คุณควรตื่นตัวกับปัญหาดังกล่าว เนื่องจากโรคเหงือกเป็นอาการอักเสบของเนื้อเยื่อเหงือกและอาจส่งผลกระทบต่อฟันรวมถึงกระดูกหุ้มฟันของคุณของคุณได้ การมีคราบพลักจากการสะสมของแบคทีเรีย หรือเมื่อคุณรับประทานอาหารที่มีกรดสูง รวมถึงอาหารบางชนิดล้วนทำให้อาการโรคเหงือกของคุณแย่ลงได้ แต่โชคดีที่มีวิธีรักษาโรคเหงือกที่ไม่รุนแรงให้หายได้ ด้วยการขูดหินปูนและเกรารากฟัน
เมื่อคนไข้ไม่มีฟันตามธรรมชาติเหลืออยู่ในช่องปากแล้วฟันปลอมทั้งปากเป็นคำตอบโดยมากของคนทั่วไปเพื่อการใช้ชีวิตอย่างปกติและมีความสวยงามเช่นเดิมในคนไข้หลายๆคน อาจประสบปัญหากับการใส่ฟันปลอมเพราะฟันปลอมที่ใช้นั้นไม่มีความมั่นคงแน่นหนา ทำให้การบดเคี้ยวเป็นไปอย่างไม่สะดวกการเข้ามาของการทำรากฟันเทียมจึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนไข่ในปัจจุบัน
Dr.Zen จะมาอธิบายอาการที่เกิดจากโรคเหงือกหรือโรคปริทันต์อักเสบ (Gum Disease) ซึ่งโรคเหงือกนี้เกิดจาก เหงือกของผู้ป่วยบวม เหงือกนิ่มผิดปกติ เลือดออกได้ง่าย เมื่อแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน บางครั้งก็จะเห็นว่ามีเลือดติดอยู่ที่แปรงสีฟันหรือไหมขัดฟัน การเปลี่ยนแปลงของสีเหงือกจากที่มีสีชมพูดูสุขภาพดีกลายเป็นสีแดงเข้มหรือคล้ำ มีกลิ่นปาก หรือรู้สึกมีรสชาติที่ไม่ดีภายในปาก เหงือกมีหนอง ฟันโยก
สาเหตุของโรคเหงือก นั้นเกิดจากเหงือกอักเสบสามารถรักษาได้โดยการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อขจัดแบคทีเรียและคราบพลัคบนผิวฟัน ก็จะทำให้อาการดีขึ้นในเวลาต่อมา แต่ทว่าผู้ป่วยที่ยังมีอาการที่ยังไม่ดีขึ้นนั้น ผู้ป่วยควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง หากปล่อยไว้นานเกินไปจะเกิดภาวะเหงือกอักเสบและจะทำให้เกิดร่องลึกระหว่างเหงือกและรากฟัน รวมทั้งอาจเกิดการสะสมของแบคทีเรียที่บริเวณนั้น ๆ
สาเหตุการเกิดโรคปริทันต์อักเสบหรือโรคเหงือก
โรคปริทันต์อักเสบหรือโรคเหงือกอักเสบสาเหตุเกิดจากการที่ผู้ป่วยดูแลสุขอนามัยในช่องปากไม่ดี จนทำให้เกิดคราบพลัคขึ้น ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ คราบพลัค คือคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน เป็นเหมือนฟิล์มที่เคลือบฟันเอาไว้ ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วยเชื้อแบคทีเรีย เมื่อคราบพลัคอยู่ที่ฟันของผู้ป่วยนาน ก็จะทำให้เกิดคราบหินปูนอยู่ตามร่องเหงือก และหินปูนสามารถก่อตัวจากสารที่อยู่น้ำลายได้อีกด้วย ถ้ายิ่งมีคราบพลัคและหินปูนอยู่ที่ฟันยาวนานมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เหงือกเกิดความระคายเคืองมาก
วิธีการป้องกันโรคปริทันต์อักเสบหรือโรคเหงือกอักเสบ
แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ 2 นาทีขึ้นไป
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
และควรหลีกเลี่ยงการกินขนมขบเคี้ยว
ดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว
เข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก
อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
งดสูบบุหรี่นอกจากจะทำลายปอด
ของผู้ป่วยแล้วยังทำให้เสียสุขภาพช่องปาก
ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
อย่างเคร่งครัดในการดูแลรักษาเหงือก