top of page

ฉันมีฟันคุด ฉันร้องกรี๊ดดดดดด...เลย

29 พฤษภาคม  2020

  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
เป็นฟันคุดรึเปล่า EP2-02.jpg

ฉันมีฟันคุด ฉันร้องกรี๊ดเลย”  ใจเย็น ๆ นะคะ ไม่ต้องร้องกรี๊ดแต่ให้เข้ามาพบคุณหมอได้เลย ฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด อย่างที่บอกไปในคราวที่แล้วว่าแค่การถอนฟัน ก็สามารถรักษาฟันคุดได้แล้วล่ะค่ะ แต่สำหรับคนที่จะต้องผ่าก็ต้องมีการเตรียมตัว เตรียมใจกันสักหน่อย แต่ตอนนี้เรามาดูกันก่อนว่าฟันคุดแบบไหนจะต้องถอน หรือจะต้องผ่าค่ะ

แนวทางในการรักษาฟันคุด

ฟันคุดแต่ละประเภทจะส่งผลต่อการรักษาค่ะ แต่ละประเภทจะมีความยากง่ายต่างกันไป จะเป็นอย่างไรบ้างมาดูตรงนี้เลยค่ะ

ฟันคุดแบบขึ้นเต็มซี่ : สามารถรักษาได้โดยการถอน เพราะหากเก็บไว้จะส่งผลต่อการเรียงตัวของฟัน ทำความสะอาดได้ยากและก่อให้เกิดฟันผุได้นั่นเองค่ะ

ฟันคุดแบบมีเหงือกปกคลุม : สามารถรักษาได้โดยการผ่าออก หรือหากไม่มีอาการปวด สามารถรอให้ฟันคุดโผล่ขึ้นมาเต็มซี่แล้วค่อยทำการถอนก็ได้ค่ะ

ฟันคุดแบบที่ฝังอยู่ : การรักษาฟันคุดลักษณะนี้จะต้องทำการเอกซเรย์เพื่อดูตำแหน่งของฟันคุดก่อนค่ะ เพราะฟันคุดที่ฝังอยู่อาจจะอยู่ในลักษณะเอียง นอน ไม่ได้ตั้งตรง หลังจากนั้นคุณหมอทำการผ่าตัด เพื่อนำฟันคุดออกมา ซึ่งในการผ่าตัดจะมีการกรอกระดูก, แบ่งฟัน ร่วมด้วย ตรงนี้จะขึ้นอยู่กับความลึกและลักษณะของฟันคุดในแต่ละเคสค่ะ

จำเป็นต้องผ่าหรือไม่?

“ไม่ผ่าได้มั้ยคะหมอ?” เป็นคำถามยอดฮิตของคนที่มีฟันคุดเลยล่ะค่ะ เพราะฟันคุดจะมาพร้อมกับการผ่า ฉันจะไม่ยอมผ่าหรอกค่ะ แค่คิดก็รู้สึกสยองขวัญแล้ว แต่ไม่ต้องกลัวไปค่ะ ให้เพื่อน ๆ ดูว่าฟันคุดของเราอยู่ในประเภทไหน หากฟันคุดโผล่ขึ้นมาแล้วก็แค่ทำการถอนออกเท่านั้นเอง ส่วนคนที่จัดฟันก็อาจจะเลี่ยงการผ่าฟันคุดไปไม่ได้เลยค่ะ แต่ไม่ว่าจะเป็นฟันคุดประเภทไหนก็แนะนำให้เอาออกนะคะ

ข้อปฎิบัติหลังการผ่าฟันคุด

หลังจากผ่าฟันคุดแล้วจะมีข้อห้าม หรือข้อปฏิบัติอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

  1. กัดผ้าก๊อซนาน 1 - 2 ชั่วโมง กลืนน้ำลายตามปกติ หากเริ่มมีเลือดซึมออกมาให้เปลี่ยนผ่าก๊อซ

  2. ประคบเย็นที่แก้มในฝั่งที่ทำการผ่าตัด จะช่วยลดบวมและช่วยให้เลือดหยุดไหล

  3. ห้ามบ้วนปาก บ้วนเลือด หรือน้ำลาย เพราะจะทำให้เลือดหยุดไหลช้า

  4. รับประทานอาหารอ่อน เลี่ยงอาหารรสจัด งดแอลกอฮอล์ และไม่ใช้ฟันฝั่งที่ทำการผ่าตัดในการเคี้ยว

  5. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบ ในวันแรกแนะนำให้ทานยาแก้ปวดทุก 4 – 6 ชั่วโมงค่ะ

  6. สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่ให้ระวังในบริเวณแผลเป็นพิเศษ

  7. เมื่อครบ 7 วัน ให้เข้ามาตรวจสภาพแผล และทำการตัดไหม

  8. หากมีอาการปวดมากกว่าปกติ ให้รีบพบแพทย์

 

หากคนไข้มีปัญหาเรื่องฟัน : คนไข้สามารถติดต่อเพื่อนัดหมายล่วงหรือปรึกษาเรื่องการรักษาได้ที่

LINE ID: @Zenitonidental

โทร : 02-006-5759

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นฟันคุดรึเปล่า-01.jpg

26 พฤษภาคม 2020

ปวดฟันจังเลยอ่าา...เป็นฟันคุดรึเปล่า?

สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้เซนิโทนีมาพร้อมกับบทความดี ๆ อีกแล้วล่ะค่ะ คราวนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของ “ฟันคุด” ที่หลาย ๆ คนจะรู้สึกกลัว และไม่อยากเป็นเอาซะเลย ฟันคุดจะน่ากลัวอย่างที่คิดหรือไม่ มาดูกันได้เลยค่ะ

ฟันผุหยุดได้ด้วยการแปรงแห้ง-02.jpg

12 พฤษภาคม 2020

ฟันผุหยุดได้ด้วยการ “แปรงแห้ง”

เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่าการแปรงฟันที่เราทำเป็นกิจวัตรประจำวันนั้นเป็นตัวการที่ทำให้เราฟันผุ! โดยเฉพาะการบ้วนน้ำหลังการแปรงฟัน 
มารู้จักการแปรงฟันแบบแห้งกันเถอะ !!

เว็บ-02-02.jpg

19 พฤษภาคม 2020

ฟันผุแล้ว...ทำยังไงดีน้า?

ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ที่เซนิโทนี่ได้แนะนำวิธีการแปรงฟันแบบแห้ง เพื่อลดการเกิดฟันผุ แต่หลายคนคงจะมีคำถามว่า “ฟันผุไปแล้ว จะต้องทำยังไง?”  วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้วค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า ฟันของเราผุในระดับไหนแล้วกันค่ะ

ทำฟันอย่างไรให้ปลอดภัย-01.jpg

08 พฤษภาคม 2020

มาทำฟันยังไงให้ปลอดภัยช่วงโควิด - 19

เซนิโทนี่จะมาแนะนำวิธีปฏิบัติตัวของคนไข้เมื่อจะมาเข้ารับบริการที่คลินิก หลังจากที่ได้ทำการนัดหมายล่วงแล้ว คนไข้จะต้องเตรียมตัว อย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

แปรงแห้งแปรงอย่างไร-01.jpg

15 พฤษภาคม 2020

“แปรงฟันแห้ง” กันเถอะ แปรงอย่างไร?

หลังจากที่เราได้รู้จักการแปรงฟันแห้งกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคในการแปรงฟันแบบแห้งให้ทราบกันค่ะ ขอบอกว่าง่ายมาก ๆ ไม่ต่างจากการแปรงฟันที่เราทำกันทุกวันอย่างแน่นอนค่ะ

ขั้นตอนการเตรียมเซนิโทนี่โควิด-01.jpg

05 พฤษภาคม 2020

ขั้นตอนการเตรียมตัวของเซนิโทนี่ในช่วง

โควิด - 19

ประกาศแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อทางทันตกรรมในสถานการณ์ COVID – 19 ของทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับที่ 1 วันที่ 21 เมษายน 2563 ทางคลินิกทันตกรรมเซนิโทนีไม่ได้นิ่งเฉยและตอบรับแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ดังนี้

  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
โลโก้ใส.png

เทสโก้โลตัส พระราม 4 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

เบอร์โทรติดต่อคลินิก  02-035-5665

bottom of page